Unix Command เบื้องต้น

Is

– คำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล มากจากคำว่า list รูป แบบคำสั่ง ls [option]
– option ที่มักใช้กันใน ls คือ

  • -l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้มด้วย
  • -a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด
  • -F จะแสดง / หลัง Directory และ * หลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้

– ตัวอย่างการใช้งาน

  • ls -l
  • ls -al
  • ls -F

Cd

– คำสั่ง Change Directory ของระบบ Unix,Linux
– รูบแบบการใช้งาน cd เคาะ space bar หนึ่งครั้งตามด้วย directory
– ตัวอย่าง

  • cd etc [Enter] คือเข้าไปใน Directory etc
  • cd ..[Enter] เข้าไป Directory ในระดับนอกกว่าก directory ปัจจุบัน 1ชั้น

Pwd

– คำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงว่าปัจจุบันอยู่ใน Directory อะไร ซึ่งจะแสดงออกมาเป็น path
– ตัวอย่างการใช้ เช่น เมื่อสั่ง pwd แล้ว enter
– ผลลัพท์ เช่น /home/demo/www/shop/content

File

– ใน UNIX บางไฟล์จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก Context ภายในของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ
– รูปแบบคำสั่ง file ตามด้วยชื่อ file
– ตัวอย่าง file somefilename
– ผลเช่น somefilename : HTML document text

Mv

– คำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า move
– รูปแบบคำสั่ง mv source target
– ตัวอย่างการย้ายไฟล์เดียว mv filename.tar backup (ย้าย filename.tar ไปที่ โฟล์เดอร์ backup)
– ตัวอย่างการย้าย mv *.tar backup (ย้ายทุกไฟล์ที่ นามสกุล tar ไปที่ โฟล์เดอร์ backup)
– ตัวอย่างการเปลี่ยนชื่อ mv OldName.txt NewName.txt (เปลี่ยนจาก OldName.txt เป็น NewName.txt)

Mkdir

– คำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory มาจากคำว่า make directory
– รูปแบบของคำสั่ง mkdir [option] [file]
– โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ

  • -m จะทำการกำหนด Permissioin

ตัวอย่าง

  • mkdir home
  • mkdir -m 777 newdirectory

Rm

– คำสั่งที่ใช้สำหรับลบแฟ้มข้อมูล (ในทำนองเดียวกับ del) มาจากคำว่า remove
– รูปแบบการใช้งาน rm [option]… [file]…โดย option ที่มักใช้กันใน rm คือ

  • -r ทำการลบข้อมูลใน directory ย่อยทั่งหมด
  • -i โปรแกรมจะถามยืนยันก่อนทำการลบ
  • -f โปรแกรมจะลบข้อมูลทันที โดยไม่ถามยืนยันก่อน

– ตัวอย่าง

  • rm -r test (ลบโฟล์เดอร์ test และหากมี โฟล์เดอร์อะไรอยู่ใน test ก็ลบให้เกลี้ยงไปพร้อมกัน)
  • rm test.doc (ลบไฟล์ test.doc)

Chown

– คำสั่ง Change Owner ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์)
– รูบแบบการใช้งาน chown [ชื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile)
– ตัวอย่าง

  • chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็น User1
  • chown -R user1 Directory คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub Directory (Sub Folder)

Chmod

– คำสั่งกำหนดสิทธิในการเข้าถึงไฟล์
– รูบแบบการใช้งาน chmod [สิทธิ] (ชื่อFile หรือ Folder)
– สิทธิ เช่น 777, 755
– ตัวอย่างการใช้ เช่น chmod 777 uploads_folder
– -R สำหรับเปลี่ยนทั้ง folder และ sub folder

  • เช่น chmod -R 777 uploads_folder

tar

ใช้สำหรับ รวมไฟล์ย่อยให้เป็นไฟล์ Packet คล้ายๆกับการ zip หลายๆไฟล์ให้เป็นไฟล์เดียวแต่ขนาดไฟล์ไม่ได้ลดลงอย่างการ zip โดยไฟล์ output ที่ได้จะตั้งชื่อเป็น filename.tar หรือการแตกไฟล์ packet จาก filename.tar ให้เป็นไฟล์ย่อยมักจะใช้คู่กับ gzip หรือ compress เพื่อทำการลดขนาด packet ให้เล็กลง
รูปแบบการใช้
– tar -option output input
– -option ประกอบด้วย -cvf , -xvf
– output คือ ไฟล์.tar ที่จะเกิดขึ้น
– input คือ ไฟล์หรือกลุ่มไฟล์หรือ directory ที่จะรวมกัน
– ตัวอย่าง cvf (รวมไฟล์)

  • tar -cvf Output_file.tar /home/myhome/*
  • Option -cvf ใช้สำหรับการรวมไฟล์ย่อยไปสู่ไฟล์ .tar จากตัวอย่าง รวมไฟล์ทุกไฟล์ที่อยู่ใน /home/myhome/ เข้าสู่ไฟล์ชื่อ Output_file.tar
    – ตัวอย่าง -xvf (แตกไฟล์)

    • tar -xvf filename.tar
    • Option -xvf ใช้แตกไฟล์ .tar เป็นไฟล์ย่อยๆ โดยจะแตกลง ณ current directory

คำสั่ง less

ใช้สำหรับดูข้อมูลในไฟล์ทีละหน้าจอ
คำสั่ง less จะใช้สำหรับดูข้อมูลในไฟล์ทีละหน้าจอ สามารถใช้ปุ่ม space bar สำหรับการดูหน้าถัดไป และสามารถเลื่อนลูกศรขึ้น-ลง ได้ ถ้าต้องการออกจากหน้าจอของคำสั่ง less ให้กดปุ่ม q

ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ less services

คำสั่ง echo

แสดงข้อความออกทาง standard output
โครงสร้างคำสั่ง
echo [option]… msg
โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ
-n ไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่

ตัวอย่าง
echo -n “Hello”
echo “Hi..”
free -k

คำสั่ง free

แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ
โครงสร้างคำสั่ง
free [-b|-k|-m]
โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ
-b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte
-k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte
-m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte

ตัวอย่าง
free
free -b
free -k

คำสั่ง sort

ใช้เพื่อทำการจัดเรียงข้อมูลในแฟ้มตามลำดับ (ทั้งนี้จะถือว่าข้อมูลแต่ละบรรทัดเป็น 1 record และจะใช้ field แรกเป็น key)
โครงสร้างคำสั่ง
sort [option] file

ตัวอย่าง
sort data.txt

คำสั่ง du

ตรวจดูการใช้พื้นท์ของไฟล์และไดเรคเทอรี
ตัวอย่างการใช้งาน
$ du -s *

คำสั่ง df

ใช้ในการตรวจดูการใช้พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์
ตัวอย่างการใช้งาน
$ df

ไปป์ (Pipe)

เป็นการเชื่อมต่อกันระหว่าง input กับ output โดย output ของคำสั่งหนึ่ง จะเป็น input ของอีกคำสั่งหนึ่ง จะใช้สัญลักษ์เป็น | (Vertical Bar)

ตัวอย่างการใช้งาน
ตัวอย่างนี้เป็นการหาข้อความ ftp ที่อยู่ในไฟล์ services แต่เนื่องจากว่า มีข้อมูลอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถดูได้ทั้งหมดในครั้งเดียว จึงต้องมีการสร้างไฟล์ขึ้นมาชื่อว่า temp.txt เพื่อใช้ในการเก็บผลลัพธ์ จากนั้นจึงใช้คำสั่ง less เพื่อไปอ่านข้อมูลจากไฟล์ temp.txt จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
$ grep ftp services > temp.txt
$ less temp.txt
ถ้ามีการใช้ไปป์ (Pipe) จะทำให้ไม่จำเป็นต้องมีไฟล์ temp.txt เราสามารถเชื่อมผลลัพธ์ของคำสั่ง grep ftp services ให้ไปเป็นอินพุตของคำสั่ง less ได้ทันที ดังนี้
$ grep ftp services | less

Comments are closed.