CD-R,DVD-R อย่าเก็บอะไรไว้นานเกินไปนะจ๊ะ

Friday, June 19th, 2009

อย่าเก็บข้อมูลใน CD-R นานเกินไป ข่าวนี้มาจากนิตยสาร PC World, เขารายงานผลวิจัยพบว่า ผู้คนจำนวนมาก เลือกเก็บข้อมูลภาพ เพลงประทับใจ และข้อมูลสำคัญๆ ไว้ในแผ่นซีดีอาร์ โดยหวังว่าจะเก็บไว้เป็นสิบๆ ปี คำตอบก็คือ เป็นเรื่องที่อันตรายมาก เมื่อแผ่นซีดีอาร์ส่วนใหญ่ มีอายุการใช้งานได้แค่ 2-5 ปี ตามแต่คุณภาพของแผ่น เพราะแผ่นซีดีอาร์ เก็บข้อมูลได้โดยระบบความร้อนของหัวเลเซอร์เครื่องเขียนแผ่น ซึ่งเมื่อผ่านไประยะหนึ่ง วัสดุและสารเคมี ณ จุดที่มีการเขียนอ่านข้อมูลนั้น ก็อาจจะมีการเปลี่ยนสภาพไป กรณีที่เขียนข้อมูลแล้วเก็บแผ่นซีดีอาร์ไว้เฉยๆ ณ ห้องติดแอร์ ไม่ร้อน ไม่ชื้นจัด แผ่นเหล่านี้อาจจะเก็บได้นานถึง 10 ปี แต่ถ้าเก็บไว้ที่ห้องที่ร้อนอบอ้าว หรือไว้ในรถที่ตากกลางแดด นอกจากแผ่นจะเสียรูปร่างแล้ว ข้อมูลก็จะหายไปด้วยเช่นกัน ถ้างั้น..หันไปใช้เทปเก็บข้อมูล หรือฮาร์ดดิสก์ดีไหม ? คำตอบก็คือ เทปเป็นตัวเก็บข้อมูลที่ให้อายุการใช้งานสูงสุด คือประมาณ 30 ปีขึ้นไป แต่..เทป ไวต่อความร้อน สนามแม่เหล็กไฟฟ้ามากๆ ที่สำคัญ เวลาเก็บไว้นานๆ ต้องมีการ retension […]

Firefox กับ IE ปลอดภัยเท่ากัน ?

Friday, June 19th, 2009

ถาม: ผมได้ยินมาว่า IE และ Firefox ก็ปลอดภัยพอๆ กัน แต่เนื่องจาก IE มีผู้ใช้มากกว่า Firefox ดังนั้นจึงมีการรายงานข้อผิดพลาดมากกว่า ข้อมูลอีกกระแสหนึ่งก็ได้ยินมาว่า เมื่อใดก็ตามที่ Firefox มีผู้ใช้เยอะขึ้น เราก็จะได้ยินข่าวเกี่ยวกับบั๊กของมันมากขึ้น คุณเห็นด้วยกับประเด็นนี้ หรือไม่ อย่างไรครับ? ตอบ: คำถามนี้ดีมากๆ ครับ ขณะเดียวกันมันก็ตอบยากเหมือนกัน เอาเป็นว่า ผมจะให้ข้อมูลกับคุณผู้อ่านเท่าที่ประสบการณ์จะเอื้ออำนวยก็แล้วกันนะครับ เริ่มต้นจากประเด็นที่ว่า เมื่อมีผู้ใช้ Firefox มากขึ้น มันก็จะถูกเจาะโดยแฮคเกอร์มากขึ้น หรือมีข่าวการพบบั๊กมากขึ้น ประเด็นนี้ผมอยากให้ลองพิจารณาอย่างนี้ครับ การที่แฮคเกอร์จะเจาะ Firefox นั้น เป็นเรื่องง่ายมากๆ เพราะบราวเซอร์ Firefox เป็นโอเพ่นซอร์ส หรือพูดง่ายๆ ก็คือ มีการเปิดเผยโค้ดการทำงานโดยละเอียดอยู่แล้ว การค้นหาช่องโหว่เพื่อใช้ในการโจมตีจะทำได้ง่ายกว่า IE มาก แต่ว่าทำไมแฮคเกอร์ยังคงค้นพบช่องโหว่ที่มีความร้ายแรงกว่า และมีจำนวนมากกว่าในบราวเซอร์ IE ทั้งๆ ที่ไม่มีการเปิดเผยโค้ดแต่อย่างใด นอกจากนี้ หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ การเป็นโอเพ่นซอร์สของ Firefox […]

ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับ Hard Disk

Friday, June 19th, 2009

ความเชื่อที่ 1 : การฟอร์แมต HDD.บ่อยๆ อาจทำให้อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง ข้อ เท็จจริง : การฟอร์แมต HDD.ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของ HDD.แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่หลายๆ คนจะคิดว่ามีส่วนทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แต่จริงๆ แล้ว เป็นความเชื่อที่ผิดๆ เท่านั้น การฟอร์แมต HDD. ไม่ถือเป็นการทำงานที่จะทำให้ HDD.ต้องแบกรับภาะหนัก หัวอ่านของ HDD.จะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นจานข้อมูลแต่อย่างใด (Platter) ระหว่างการฟอร์แมต สรุปแล้วก็คือ เราสามารถฟอร์แมต HDD. 30 ครั้งต่อวัน ทุกวันเลยก็ได้ อายุการใช้งานมันก็จะไม่ต่างจากจาก HDD. อื่นๆ เลย ความ เชื่อที่ 2 : การฟอร์แมต HDD.จะทำให้มีข้อมูล หรือปฎิกรณ์ ;อะไรสักอย่าง วางซ้อนเพิ่มบนแผ่นดิสก์ ซึ่งมีผลทำให้เกิด;bad sector ได้ ข้อ เท็จจริง : การฟอร์แมตจะไม่ทำให้เกิดข้อมูล หรืออะไรทั้งนั้นที่แผ่น […]