กลโกงเอาเลขหลังบัตรเครดิต

May 26th, 2009

พอดีเจอมาครับเลยคิดว่าเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆคนครับ

ข้อความต่อไปนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งที่จะรู้จักวิธีการหลอกลวงฉ้อฉล
ด้วยการแอบอ้างว่าโทรมาจาก Visa หรือ Master Cards
เพื่อให้คุณได้ระมัดระวังตนเองไม่ตกเป็นเหยื่อวิธีการฉ้อฉลดังกล่าว

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ภรรยาผมได้รับโทรศัพท์จาก Visa
และผมก็ได้รับโทรศัพท์จาก Master Card ในวันพฤหัสบดีต่อมา
คนที่โทรมาพูดว่า “ดิฉัน…(ชื่อ) โทรจากฝ่ายรักษาความปลอดภัยของ Visa ค่ะ
คือเราตรวจพบว่ามีความผิดปกติในการสั่งซื้อ
จึงโทรมาตรวจสอบว่าบัตร Visa ของคุณ ที่ออกโดยธนาคาร…(ชื่อ)
มีการสั่งซื้ออุปกรณ์ระบบป้องกันภัยมูลค่า 20,000 บาท จากบริษัทในอเมริกาหรือเปล่าคะ”

เมื่อคุณบอกว่า “เปล่านี่คะ” คนที่โทรมาก็จะบอกว่า
“ถ้าอย่างงั้นเราจะคืนเงินให้คุณกลับคืน เรากำลังตรวจสอบบริษัทฉ้อฉล
โดยมีวงเงินที่ฉ้อฉลโกงลูกค้า ครั้งละ 12,000-20,000 บาท
เราจะส่งหนังสือแจ้งการคืนเงินให้คุณทราบที่…(ที่อยู่ของคุณ) ถูกต้องมั๊ยคะ”

เมื่อคุณบอกว่า “ถูกต้องคะ” คนที่โทรมาจะพูดต่อไปว่า
“ดิชั้นจะทำการสืบสวนต่อไป หากคุณมีข้อสงสัยให้โทรตามหมายเลขที่อยู่หลังบัตรแล้วต่อฝ่ายรักษาความปลอดภัย
คุณต้องระบุหมายเลขอ้างอิงนี้ (คนที่โทรมาจะบอกหมายเลข 6 หลัก)
คุณต้องการให้ดิชั้นทวนหมายเลขมั๊ยคะ”

ต่อไปนี้จะเป็นส่วนสำคัญของกลโกง
คนที่โทรมาจะพูดว่า “เพื่อให้ทราบว่าคุณเป็นเจ้าของบัตรที่แท้จริงของบัตรเครดิตการ์ดใบนี้
กรุณาพลิกด้านหลังของบัตรและให้ดูที่หมายเลข 7 ตัวสุดท้าย
4 ตัวแรกจะเป็นหมายเลขบัตร 3 ตัวต่อมาจะเป็นเลขสำหรับรักษาความปลอดภัย
ว่าคุณคือเจ้าของที่แท้จริงและใช้ในการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต
กรุณาบอกเลข 3 ตัวสุดท้ายด้วยคะ”

เมื่อคุณบอกเลข 3 ตัวสุดท้ายไป คนที่โทรมาจะบอ กว่า
“ตัวเลขถูกต้อง ดิชั้นต้องการให้แน่ใจว่าบัตรยังอยู่กับคุณ มิได้สูญหาย
หรือถูกขโมย คุณมีข้อสงสัยอื่นใดอีกหรือเปล่าคะ”

เมื่อคุณบอกว่า “ไม่มีคะ”
คนโทรมาจะขอบคุณและบอกว่าหากมีในภายหลังก็ให้โทรสอบถามได้เสมอ แล้ววางสาย

ความจริงคุณพูดไปน้อยมาก คนโทรมาไม่ได้ขอหมายเลขบัตรเครดิตของคุณ
แต่ภรรยาผมเกิดเอะใจ จึงโทรกลับไปทันทีหลังจากวางสายไป 20 นาที
และปรากฏว่า Visa ตัวจริงบอกว่าภรรยาผมถูกหลอกแล้ว
และเมื่อ 15 นาทีที่ผ่านมาได้มีรายการซื้อสินค้าจำนวน 20,000 บาท
ส่งมาเรียกเก็บ ในที่สุด Visa ได้ยกเลิกบัตรและออกบัตรใหม่ให้

ผู้ฉ้อฉลต้องการเลขเพียง 3 ตัวสุดท้ายด้านหลังบัตร
อย่าให้ไปเป็นอันขาด ให้คุณบอกว่าแล้วจะโทรกลับไปแจ้งเองโดยตรงจะดีกว่า

วันพฤหัสบดีต่อมา ผมได้รับโทรศัพท์จากคุณ…(ชื่อ)
อ้างว่าโทรจาก Master Card ซึ่งมีข้อความเหมือนกับที่ภรรยาผมได้รับคำต่อคำเลย
ผมเลยไม่รอให้เขาพูดจบ
ผมรีบวางสาย แล้วไปแจ้งความที่สถานีตำรวจตามที่ Visa ให้คำแนะนำมา

ตำรวจบอกว่าได้รับแจ้งแบบเดียวกันนี้ วันหนึ่งหลายราย
จึงขอร้องให้ข่วยกันบอกต่อ ด้วย เราต้องระมัดระวังตนเอง ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

หลักการของ Cluster & Load Balance

May 25th, 2009

พอดีกำลังอยากรู้เรื่อง Load Balance ก็ไปเจอหลักการเข้าครับ เลยเอามาเก็บเป็นความรู้แชร์เพื่อนๆไว้

Clustering คือการจัดกลุ่มของคอมพิวเตอร์หลายๆตัวเพื่อให้สามารถทำงานได้เหมือนกับเป็นคอมพิวเตอร์ตัวเดียวกัน

ดังนั้นไม่ว่า User เข้ามาใช้งานเครื่องใดภายในกลุ่มก็จะรู้สึกเหมือนใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน คุณสมบัติสำคัญของการทำ Clustering คือการทำ Replication โดยในแง่ของ Web Application คือการทำ Session Replication ซึ่งตามปกติแล้ว Session ของ User จะถูกจัดเก็บใน Web Server เครื่องที่ User กำลังใช้งานอยู่เท่านั้น แต่การทำ Clustering จะเป็นการคัดลอก (Replicate) Session นั้นไปยัง Web Server อื่นภายในกลุ่มด้วย ทำให้ไม่ว่า User เข้าไปใช้งานใน Server เครื่องใดก็จะมี Session ของ User อยู่ด้วยเสมอ

Load balancing คือการจัดกลุ่มของคอมพิวเตอร์หลายๆตัวเพื่อแบ่งงานกัน หรือกระจาย load การใช้งานของ user ไปยังคอมพิวเตอร์ภายในกลุ่ม เพื่อให้สามารถรับจำนวน user ที่เข้ามาใช้งานได้มากขึ้น หรือสามารถรับงานที่เข้ามาได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติของ Fail Over คือหากมีคอมพิวเตอร์ภายในกลุ่มไม่สามารถทำงานได้ เช่น Down อยู่ หรือไม่สามารถรับงานหรือuserเพิ่มได้เนื่องจาก resource ที่ใช้ทำงานไม่พอ ตัว Load Balancer ที่เป็นตัวแจก load ให้คอมพิวเตอร์ภายในกลุ่มก็จะส่ง load ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆแทน จนกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะกลับมาใช้งานได้ใหม่

การทำงานของ Load Balancer นั้นมี 3 ลักษณะด้วยกันได้แก่
1. Round-robin เป็นการส่ง traffic ไปยัง Server ภายในกลุ่มวนไปเรื่อยๆ
2. Sticky เป็นการส่ง traffic โดยยึดติดกับ Session ที่ user เคยเข้าไปใช้งาน เช่น ถ้า user เคยเข้าไปใช้ใน server ที่ 1 ภายในกลุ่ม traffic ของ user คนนั้นก็จะถูกส่งไปยัง server 1 เท่านั้น
3. Work load เป็นการส่ง traffic โดยดูที่ performance ของ server ภายในกลุ่มเป็นสำคัญ เช่นหาก server 1 มีงานมากกว่า server 2 ตัว load balancer ก็จะส่ง traffic ไปยัง server 2

การทำ Cluster Load Balance คือการผสมผสานการทำงานทั้งสองลักษณะเข้าด้วยกัน แต่หากจะเลือกใช้การทำงานแบบนี้แล้ว การใช้ Load Balance แบบ Sticky ก็จะไม่มีความหมายไป เนื่องจาก ทุกๆ Server ภายในกลุ่มเป็น Cluster กันอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่จะส่ง Traffic ไปให้เครื่องเดิมเสมออีก ควรจะทำ Load Balance แบบ Round-robin หรือ Work load แทน

อย่างไรก็ดีการทำ Cluster ไม่จำเป็นต้องพึ่ง Feature ของ Server เป็นหลัก แต่เราสามารถ Develop ตัว Application ให้เป็น Cluster เองได้ โดยไม่ต้องพึ่ง Feature ของ Server เช่น การใช้หลักการของ File Sharing หรือ Database เข้ามาช่วยก็สามารถทำงานได้เหมือนกัน เช่นเดียวกับการทำ Load Balance เราไม่จำเป็นต้องหา Hardware หรือ Software พิเศษที่จะทำหน้าที่เป็น Load Balancer แต่เราสามารถเขียน Application เพื่อทำการกระจาย Traffic ไปยัง Server ต่างๆได้เหมือนกัน โดยใช้หลักการของ Redirection เป็นต้น

ที่มา :bomber

.: Rollback transaction ใน hibernate :.

May 19th, 2009

การ rollback transaction .ใน spring – hibernate
ใ ห้ประกาศ session มา session เดียวครับ แล้วจัดการภายใน session ทั้งหมด

	
Session session = getSession();
Transaction tx = null;
try {
// ส่วนของการทำงานทั้งหมด ที่ต้องการให้ rollback เวลาเกิด error
	tx = session.beginTransaction();
	session.createQuery("query")
   .setString(":value", value).list();

	id = (Long) session.save(Object);

	session.flush();
	
	tx.commit();
} catch(Exception e) {


logger.error("Can't create Object.", e);
	tx.rollback();
} finally {
	if(session != null) {
		try {
			session.close();
		} catch(HibernateException e) {
			e.printStackTrace();
		}
	}
}

ประยุกต์ดูนะครับ