Structure Android Application Devloper
การเขียนโปรแกรม android application มีองค์ประกอบเบื้องต้นไม่มาก เรามีหน้าที่ ที่ต้องจำองค์ประกอบต่างๆ ของมันให้ได้ ซึ่งไม่ยากมากครับ บทความเดียวก็จบได้ แต่ทั้งหมดที่จะเล่านี่เพื่อเป็นพื้นฐานเท่านั้น เพราะว่าการ program ขั้นสูง มันก็จะมีอะไรเพิ่มมาอีกเรื่อยๆครับ
Structure Android Application Devloper
ปกติ เวลาเราเห็นโปรแกรมที่เอามาใช้จะเป็นในรูปแบบ .apk เพียงไฟล์เดียวเท่านั้น แต่ถ้าเรามาเขียนโปรแกรมให้สามารถใช้งานบน android ได้นั้น ต้องมาเรียนรู้โครงสร้างของ android ซึ่งถ้าเราสร้างโปรเจคใหม่ ผ่าน eclipse โดยผ่านการติดตั้ง plug in เรียบร้อยแล้ว
( Download the Android SDK และ ADT Plugin for Eclipse )
eclipse ก็จะสร้างโครงสร้างเหล่านี้มาให้โดยอัตโนมัต โดยโครงสร้างไฟล์ และหน้าที่ มีดังนี้
/src/PACKAGENAME/ACTIVITY.java - เป็นไฟล์ที่จะต้อง program ลงไป เพื่อให้เริ่มต้นทำงาน โดย PACKAGENAME ก็คือชื่อ package ที่เราสร้าง และ ACTIVITY คือชื่อ class ที่เราจะระบุในตอนที่สร้าง (ซึ่งมันจะ match ในที่ในไฟล์ AndroidManifest.xml) /assets - เอาไว้เก็บไฟล์ multimedia หรือ อื่นๆ เช่น ภาพ เพลง ฯลฯ /res/drawable - เก็บภาพ , icon /res/layout - เอาไว้เก็บ XML ไฟล์ที่บ่งบอกการแสดงผล ถ้าเปรียบกับการทำเว็บ ก็คือเอาไว้เก็บ HTML โค้ด ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวกับ program เลย เอาไว้จัด layout อย่างเดียว /res/value - เอาไว้เก็บค่าต่างๆที่เราประกาศขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยดังนี้ /res/value/arrays.xml - เป็นการประกาศค่า array /res/value/colors.xml - เป็นการประกาศค่าสี /res/value/dimens.xml - เป็นการประกาศขนาดวัตถุต่างๆ /res/value/strings.xml - เป็นการประกาศข้อความ หรือตัวหนังสือ (ซึ่งเราจะเอามาประยุกค์การทำหลายภาษาได้อีก) /res/value/styles.xml - เป็นการประกาศ object style /gen/PACKAGENAME - เราจะพบ R.java ซึ่งจะเป็นการกำหนดค่าของ object ต่างๆ โดยเราไม่ควรแก้ไขไฟล์นี้ เพราะว่า Eclipse จะทำการ compile ไฟล์นี้ใหม่ทุกครั้งที่มีการแก้ไขอยู่แล้ว |
โดยไฟล์ที่สำคัญ ที่ต้องพิจาณาเป็น พิเศษก็คือ
1. ACTIVITY.java (ACTIVITY คือชื่อที่ตั้งขึ้นมา) เพราะว่ามันจะเก็บ program และการทำงานเริ่มต้นเอาไว้
มือใหม่จะได้แก้ไขไฟล์นี้ตลอดเวลาอย่างแน่นอน และอีกไฟล์ที่ทำงานคู่กันก็คือ /res/layout/XXX.xml (XXX คือชื่อที่ตั้ง เพื่อทำงานคู่กับ java ของเรา) โดยสองไฟล์นี้ ทำงานร่วมกันในแบบที่ XXX.xml เป็นตัวจัดส่วนแสดงผล ว่าจะให้ปุุ่มๆนี้ แสดงตรงนี้ text box แสดงตรงนี้ แล้ว .java ก็ทำหน้าที่เอา content มาใส่เข้าไป ตามที่ xml ระบุ โดย content อาจจะได้มาจากการคำนวนของโปรแกรม ,database, strings.xml ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการเขียน java เพื่อส่งค่าให้ไปแสดงผลนั่นเอง
2. AndroidManifest.xml เพราะว่าไฟล์นี้ เปรียบเสมือน configuration ของ application ของเราก็ว่าได้ โดยจะเก็บค่าที่บ่งบอก คุณลักษณะของ application เราเอาไว้ทั้งหมด ตั้งแต่ version ที่อนุญาตให้ใช้งาน ไปจนถึง การขอ permission ว่าจะมีอะไรบ้าง
* java syntax – เพราะว่า android ในโครงสร้างภาษา java ในการพัฒนา application เลยครับ แต่ว่าไม่ใช่ java แบบปกติที่เค้าใช้กัน เพราะว่า android ทำตัว vitual machine ขึ้นมาเอง (ชื่อว่า Dalvik) แต่ java ปกติจะใช้ JVM นั้นเลยทำให้ต่างกัน โดยจะต่างกันในพวก library , โครงสร้าง , การทำงาน แต่ตัว syntax นั้นเหมือนกัน ข้อนี้หลายคนอาจจะเป็นกังวล ว่าถ้าไม่มีพื้นฐาน java เลยจะเขียนได้มั้ย คำตอบอยู่ในข้อถัดๆไปนะครับ เพราะว่าผมคือคนนึง ที่ยอมรับเลย ว่าไม่เคยเรียน java , OOP หรืออะไรที่เกี่ยวข้องเลย
June 1st, 2013 at 7:06 am
Somebody essentially assist to make severely posts I’d state. That is the very first time I frequented your website page and so far? I amazed with the analysis you made to make this particular post incredible. Magnificent task!