นามสกุลโดเมนนั้นสำคัญตรงไหน

December 10th, 2009

เว็บไซน์ทำไมมันถึงได้มี .com, .net, .biz ไรมั้งหล่ะ แต่ละ ดอท ล้วนมีความหมายของมั่น จดทะเบียนก็ต้องจดให้ถูกตามประเภทของมัน ดังนั้นเรามาดูกันว่าแต่ละ ดอท มันมีความหมายอย่างบ้าง
1. นามสกุล .com เป็นนามสกุลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในโลก เป็นนามสกุลที่เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจ หรือเว็บไซต์ทุกประเภท แต่ในปัจจุบันชื่อโดเมนที่สามารถจดทะเบียนได้ มีน้อยลงทุกวัน เพราะชื่อดีๆ และสั้น เพื่อสร้างความจดจำ ได้ถูกจดทะเบียนไปเกือบหมดแล้ว

2. นามสกุล .net เป็นนามสกุลที่ได้รับความนิยมรองลงมาจาก .com เป็นนามสกุลที่เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจ หรือเว็บไซต์ทุกประเภท ปัจจุบันยังมีชื่อดีๆ และสั้น เพื่อสร้างความจดจำ ที่ยังสามารถจดทะเบียนใหม่ได้

3. นามสกุล .org เป็นนามสกุลโดเมนที่เหมาะสำหรับองค์กรทุกประเภทที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่นหน่วยงานราชการ องค์กรสาธารณกุศล เป็นต้น

4. นามสกุล .biz เป็นนามสกุลที่มาแทนที่ชื่อโดเมนนามสกุล .com ที่ไม่สามารถจดได้ ปัจจุบันเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในต่างประเทศ การใช้งานเหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจ และเว็บไซต์ทุกประเภท

5. นามสกุล .info เป็นนามสกุลที่เหมาะสำหรับองค์กร หรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร ทุกประเภท

6. นามสกุล .us เป็นนามสกุลโดเมนที่เหมาะกับเว็บไซต์ทุกประเภท ยิ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา นามสกุล .us จะเหมาะสมแก่การใช้งานมากที่สุด

7. นามสกุล .co.th เป็นนามสกุลโดเมนที่เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจที่จดทะเบียนภายในประเทศไทยเท่านั้น การจดทะเบียนสามารถจดได้เพียง “ชื่อเต็มทั้งหมดของชื่อองค์กรธุรกิจ” หรือ “ชื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อองค์กรธุรกิจ” หรือ “ตัวย่อที่มาจากชื่อองค์กรธุรกิจ” เท่านั้น โดยต้องไม่ซ้ำกับชื่อโดเมนขององค์กรธุรกิจอื่นที่ได้มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้แล้ว หรือหากเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนและรับรองโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็สามารถจดทะเบียนได้ตามชื่อเครื่องหมายการค้านั้นๆ โดยชื่อโดเมนเนมจำเป็นต้องตรงกับเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการทุกตัวอักษร เอกสารประกอบการ จดโดเมน .co.th
– 7.1 กรณีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ใช้สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือ สำเนาหนังสือบริคนธ์สนธิ ที่ปรากฎชื่อภาษาอังกฤษ ที่ออกให้โดยกรมพัฒนาธุรกิจและการค้า จำนวน 1 ฉบับ
– 7.2 กรณีเป็นเครื่องหมายการค้า ใช้สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือ หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ ที่จดทะเบียนและประกาศรับรองโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทย

8. นามสกุล .in.th เป็นนามสกุลที่เหมาะกับเว็บไซต์ทุกประเภท สามารถจดทะเบียนเป็นชื่อโดเมนอะไรก็ได้ตามความต้องการ แต่ต้องไม่ซ้ำกับชื่อโดเมนที่มีการจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว เอกสารประกอบการ จดโดเมน .in.th
– 8.1 จดทะเบียนโดเมนเนมในนามองค์กร ใช้เอกสาร : หนังสือรับรองบริษัท, ใบภ.พ.20 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม), ใบท.ค.0401 (ทะเบียนการค้า) หรือ หนังสือรับรององค์กร/club/group
– 8.2 จดทะเบียนโดเมนเนมในนามบุคคล ใช้เอกสาร : สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาใบขับขี่ หรือ หนังสืออนุญาตประกอบอาชีพของคนต่างด้าว พร้อมทั้งหลักฐานการชำระค่าบริการ

9. นามสกุล .or.th เป็นนามสกุลที่เหมาะกับเว็บไซต์ขององค์กรที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร ที่มีการจดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น เช่น สมาคม มูลนิธิ เป็นต้น การจดทะเบียนสามารถจดได้เพียง “ชื่อเต็มทั้งหมดของชื่อองค์กร” หรือ “ชื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อองค์กร” หรือ “ตัวย่อที่มาจากชื่อองค์กร” เท่านั้น โดยต้องไม่ซ้ำกับชื่อโดเมนขององค์กรธุรกิจอื่นที่ได้มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้แล้ว เอกสารประกอบการ จดโดเมน .or.th
– 9.1 หนังสือจัดตั้งองค์กร เช่น หนังสือจัดตั้งสมาคม หรือ หนังสือจัดตั้งมูลนิธิ เป็นต้น
– 9.2 กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งองค์กรได้นั้น รบกวนแสดงหนังสือซึ่งประกอบด้วย ประธาน, คณะกรรมการ, จุดประสงค์ที่เด่นชัด, ที่อยู่ที่แน่นอน และมีหน่วยงานที่เป็นที่รู้จักรับรองว่า มีหน่วยงานของท่านอยู่จริง

10. นามสกุล .ac.th เป็นนามสกุลที่เหมาะกับเว็บไซต์สำหรับสถานศึกษา โรงเรียน วิทยาลัย การจดทะเบียนสามารถจดได้เพียง “ชื่อเต็มทั้งหมดของชื่อสถาบัน” หรือ “ชื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อสถาบัน” หรือ “ตัวย่อที่มาจากชื่อสถาบัน” เท่านั้น โดยต้องไม่ซ้ำกับชื่อโดเมนของสถาบันอื่นที่ได้มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้แล้ว เอกสารประกอบการ จดโดเมน .ac.th
– 10.1 สำเนาหนังสือจัดตั้งโรงเรียน
– 10.2 กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งโรงเรียนได้นั้น รบกวนทางโรงเรียนออกหนังสือรับรอง หน่วยงานที่สังกัด ที่ตั้งของโรงเรียน และรับรองการขอจดทะเบียนโดเมนเนม พร้อมทั้งประทับตราและเซ็นต์รับรองโดย ท่านผู้อำนวยการของทางโรงเรียน

11. นามสกุล .go.th เป็นนามสกุลที่เหมาะกับเว็บไซต์สำหรับองค์กรภาครัฐ เช่น กรม กอง อบต. อบจ. การจดทะเบียนสามารถจดได้เพียง “ชื่อเต็มทั้งหมดของชื่อองค์กร” หรือ “ชื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อองค์กร” หรือ “ตัวย่อที่มาจากชื่อองค์กร” เท่านั้น โดยต้องไม่ซ้ำกับชื่อโดเมนขององค์กรอื่นที่ได้มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้แล้ว เอกสารประกอบการ จดโดเมน .go.th
– 11.1 หนังสือที่ทางหน่วยงานแจ้งชื่อโดเมนเนม .go.th ให้ทาง ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer : CIO) ของกระทรวง/กรมต้นสังกัด รับทราบ

ที่นี่ก็ทราบความหมายของแต่ละ ดอท กันแล้ว ก็จดโดเมนได้ถูกต้องตามประเภทกันได้ซะที่ ^^

กลโกงโอนเงินผิดช่วยอ่านนะมีประโยชน์มาก

December 6th, 2009

อ้างว่าลูกค้า โอ นเงินผิดมาที่บัญชีเรา

ศุกร์ที่ 28 มี นา มีคนโทรเข้ามาบอกว่าเป็นพนักงานแบงค์กรุงเทพฯ บอกว่ามีลูกค้า โอ นเงิน เข้ามาที่บัญชีเราผิด บอกเลขบัญชีทุกอย่างถูกหมด แล้วก็บอกให้ โอ นเงินกลับด้วย เพราะว่าลูกค้าคนนั้น เดือดร้อนมาก เราก็บอกว่าขอไปเช็คก่อน

พอ วันเสาร์เราไปกดตังค์ก็พบว่ามีเงินเข้ามาบัญชีเราผิดตามจำนวนที่เค้าบอก จริงๆ ก็เลย โอ นคืนไปให้… ก็ไม่คิดว่ามีอะไร เพราะมันก็ไม่ใช่เงินเราจริง….
จนมาวันนี้ได้รับใบ แจ้งหนี้ CITIBANK มี ยอด Call for cash ให้ผ่อนจ่ายรายเดือน ก็เลยโทรไปเช็คที่ call center เค้าบอกว่าเราโทรไปขอเบิกเงินสดเข้าบัญชีเราเอง เมื่อวันที่ 25 มีนา เราก็บอกว่าไม่ได้ทำ.. .อย่างนี้ก็โดนหลอกแล้วซิ พนักงาน call center ก็ได้แต่บอกให้ไปแจ้งความ ซึ่งก็ยังดีที่เราเก็บ slip ที่เรา โอ น เงินไว้นะ……

จะรบกวนผู้รู้ค่ะ ว่าจะทำอย่างไรต่อดี จะไปแจ้งความที่ไหน แล้วตำรวจจะช่วยเราได้ไหม เพราะจำนวนเงินนั้นก็หลายหมื่นเลยค่ะ

วิธีแก้ไข
หากเจอแบบนี้ ไม่ต้องทำรายการ โอ นครับ ถึงจะมีการ โอ นเข้ามาผิดจริง
ทางธนาคารสามารถทำรายการแก้ไขได้เองอยู่แล้ว การทำรายการ โอ นเงิน
เท่ากับเราเป็นผู้สั่ง โอน การแก้ไขจะทำได้ลำบากขึ้น

หรือหากเป็นการโอนจาก ATM หรือ CDM ให้ขอหลักฐานเป็นหนังสือออก โดยธนาคารมาให้เราก่อน (ตัวจริงนะครับ)
แล้ว เช็คข้อมูลกับธนาคารต้นทางก่อนจนแน่ใจ
อีก 4-5 วันค่อย โอ นก้อไม่เสียหาย เพราะไม่ได้มีเจตนาโกง ฟ้องมาก้อชนะแน่นอน

ถ้าเป็นการทำรายการ โอนผิด ธนาคารแค่แจ้งลูกค้าปลายทาง แล้วจัดการเองได้เลยแน่นอน

นี่เป็นวิธีหลอกลวงแบบใหม่ เพื่อนๆ โปรดระวัง แจ้งเตือนกันให้ทั่ว
คนส่วนใหญ่ในสังคมเป็นคนดี…อยากคืนเงินคนที่เดือดร้อนแน่อยู่แล้ว ดังนั้นมี โอ กาสตกหลุมนี้ได้ไม่ยากเลย
เจ้าของบัญชีที่รับ โอ นกลับคงเป็นคนบ้านนอก ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรนัก
ถูกจ้างให้เปิดบัญชีี พร้อมบัตร ATM ได้ เงิน 200-300 บาทก็เอาแล้ว
คนโกงก็กด ATM เชิดไปแล้วหลายหมื่น

ข้อควรระวังเรื่องนี้
1. ถ้า โอ นผิดจริง แบงก์สาขาจะสามารถจัดการได้เองเลย เราไม่ต้องทำอะไรครับ
2. เบอร์โทรเข้ามา ถ้าแปลกๆ แบบไม่แสดงเบอร์ หรือ เป็นแบบโทรจาก internet ให้ระวังไว้ก่อนเลยครับ
3. ใบแจ้งหนี้บัตรเครดิต ควรทำลายอย่าให้เหลือเห็นข้อมูลต่างๆ เช่น วงเงินสินเชื่อ หรือ
เลขบัญชีธนาคารที่ตัดอัตโนมัติ

หน้าที่ของ trunk, branch และ tag ใน Subversion

October 13th, 2009

ส่วนที่สำคัญคือ trunk, branches, และ tags ที่จริงแล้วชื่อพวกนี้ไม่ได้เป็นข้อบังคับหรือว่าอะไรเลย ไม่ได้มีความหมายพิเศษต่อการทำงานของ SVN ด้วย แต่ว่าเป็นอะไรที่คนส่วนใหญ่เค้าตกให้ไปในทางเดียวกัน แต่ใน SVN ก็จะมองเป็นโฟลเดอร์ธรรมดาๆ ดังนั้นเราจึงควรทำอะไรตามคนส่วนใหญ่ จะได้สื่อสารกันได้ง่ายๆ^^

คำว่า trunk และ branches มาจากส่วนประกอบของต้นไม้ คือ ลำต้น และ กิ่ง โดยลำต้น

trunk ก็จะหมายถึงสายการพัฒนากลางหรือสายพัฒนาหลัก และเวอร์ชันล่าสุดของโปรเจกก็มักจะอยู่ที่นี่ ถ้าอยากได้ซอร์สโค้ดของโปรเจคก็ควรจะ check out จากที่นี่ครับ และ trunk ก็จะถูกคาดหวังว่าจะสามารถนำไป build และ compile เพื่อใช้งานได้

branch เป็นกิ่งก้านสาขาที่แตกออกมา (ในกรณีปกติก็คงแตกออกมาจาก trunk นั่นแหละ) อาจจะแตกออกมาเพื่อให้คนๆหนึ่งไปรับผิดชอบ feature หนึ่งๆ เพราะเกรงว่าการแก้ไขโดยคนนั้นๆทำไปทำมาจะทำให้ trunk เจ๊ง (คอมไพล์ไม่ผ่าน) ก็เลยให้ไปทำใน branch ซะ แน่ใจว่าเสร็จแล้วค่อยเอามารวม (merge)

tag อันนี้แปลง่ายๆคือมันเป็น snapshot (ง่ายตรงไหนวะ …) คือเหมือนเป็นการบันทึก state ณ เวลาหนึ่งๆไว้นั่นเอง มักถูกใช้ในการเก็บเวอร์ชันต่างๆไว้ เป็นต้นว่า 1.0.0 ตอน release เวอร์ชัน 1.0.0 เป็นต้น ถ้าทำไปเรื่อยๆจนถึงเวอร์ชัน 2.1 แล้ว อยากดูโค้ดตอนที่ release 1.0.0 ว่าเป็นยังไงก็เปิด tags/1.0.0 ได้

ทั้งการทำ branch และ tag นั้น เป็นเพียงการ copy trunk ไปใส่ไว้ใน branches และ tags เท่านั้น ซึ่งการ copy ผ่าน SVN มันก็จะเป็นแค่การคัดลอก reference มา ดังนั้นจึงทำได้เร็วมาก และหายห่วงเรื่องไฟล์ซ้ำซ้อนได้เลย