นามสกุลโดเมนนั้นสำคัญตรงไหน

เว็บไซน์ทำไมมันถึงได้มี .com, .net, .biz ไรมั้งหล่ะ แต่ละ ดอท ล้วนมีความหมายของมั่น จดทะเบียนก็ต้องจดให้ถูกตามประเภทของมัน ดังนั้นเรามาดูกันว่าแต่ละ ดอท มันมีความหมายอย่างบ้าง
1. นามสกุล .com เป็นนามสกุลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในโลก เป็นนามสกุลที่เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจ หรือเว็บไซต์ทุกประเภท แต่ในปัจจุบันชื่อโดเมนที่สามารถจดทะเบียนได้ มีน้อยลงทุกวัน เพราะชื่อดีๆ และสั้น เพื่อสร้างความจดจำ ได้ถูกจดทะเบียนไปเกือบหมดแล้ว

2. นามสกุล .net เป็นนามสกุลที่ได้รับความนิยมรองลงมาจาก .com เป็นนามสกุลที่เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจ หรือเว็บไซต์ทุกประเภท ปัจจุบันยังมีชื่อดีๆ และสั้น เพื่อสร้างความจดจำ ที่ยังสามารถจดทะเบียนใหม่ได้

3. นามสกุล .org เป็นนามสกุลโดเมนที่เหมาะสำหรับองค์กรทุกประเภทที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่นหน่วยงานราชการ องค์กรสาธารณกุศล เป็นต้น

4. นามสกุล .biz เป็นนามสกุลที่มาแทนที่ชื่อโดเมนนามสกุล .com ที่ไม่สามารถจดได้ ปัจจุบันเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในต่างประเทศ การใช้งานเหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจ และเว็บไซต์ทุกประเภท

5. นามสกุล .info เป็นนามสกุลที่เหมาะสำหรับองค์กร หรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร ทุกประเภท

6. นามสกุล .us เป็นนามสกุลโดเมนที่เหมาะกับเว็บไซต์ทุกประเภท ยิ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา นามสกุล .us จะเหมาะสมแก่การใช้งานมากที่สุด

7. นามสกุล .co.th เป็นนามสกุลโดเมนที่เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจที่จดทะเบียนภายในประเทศไทยเท่านั้น การจดทะเบียนสามารถจดได้เพียง “ชื่อเต็มทั้งหมดของชื่อองค์กรธุรกิจ” หรือ “ชื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อองค์กรธุรกิจ” หรือ “ตัวย่อที่มาจากชื่อองค์กรธุรกิจ” เท่านั้น โดยต้องไม่ซ้ำกับชื่อโดเมนขององค์กรธุรกิจอื่นที่ได้มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้แล้ว หรือหากเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนและรับรองโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็สามารถจดทะเบียนได้ตามชื่อเครื่องหมายการค้านั้นๆ โดยชื่อโดเมนเนมจำเป็นต้องตรงกับเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการทุกตัวอักษร เอกสารประกอบการ จดโดเมน .co.th
– 7.1 กรณีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ใช้สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือ สำเนาหนังสือบริคนธ์สนธิ ที่ปรากฎชื่อภาษาอังกฤษ ที่ออกให้โดยกรมพัฒนาธุรกิจและการค้า จำนวน 1 ฉบับ
– 7.2 กรณีเป็นเครื่องหมายการค้า ใช้สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือ หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ ที่จดทะเบียนและประกาศรับรองโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทย

8. นามสกุล .in.th เป็นนามสกุลที่เหมาะกับเว็บไซต์ทุกประเภท สามารถจดทะเบียนเป็นชื่อโดเมนอะไรก็ได้ตามความต้องการ แต่ต้องไม่ซ้ำกับชื่อโดเมนที่มีการจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว เอกสารประกอบการ จดโดเมน .in.th
– 8.1 จดทะเบียนโดเมนเนมในนามองค์กร ใช้เอกสาร : หนังสือรับรองบริษัท, ใบภ.พ.20 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม), ใบท.ค.0401 (ทะเบียนการค้า) หรือ หนังสือรับรององค์กร/club/group
– 8.2 จดทะเบียนโดเมนเนมในนามบุคคล ใช้เอกสาร : สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาใบขับขี่ หรือ หนังสืออนุญาตประกอบอาชีพของคนต่างด้าว พร้อมทั้งหลักฐานการชำระค่าบริการ

9. นามสกุล .or.th เป็นนามสกุลที่เหมาะกับเว็บไซต์ขององค์กรที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร ที่มีการจดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น เช่น สมาคม มูลนิธิ เป็นต้น การจดทะเบียนสามารถจดได้เพียง “ชื่อเต็มทั้งหมดของชื่อองค์กร” หรือ “ชื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อองค์กร” หรือ “ตัวย่อที่มาจากชื่อองค์กร” เท่านั้น โดยต้องไม่ซ้ำกับชื่อโดเมนขององค์กรธุรกิจอื่นที่ได้มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้แล้ว เอกสารประกอบการ จดโดเมน .or.th
– 9.1 หนังสือจัดตั้งองค์กร เช่น หนังสือจัดตั้งสมาคม หรือ หนังสือจัดตั้งมูลนิธิ เป็นต้น
– 9.2 กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งองค์กรได้นั้น รบกวนแสดงหนังสือซึ่งประกอบด้วย ประธาน, คณะกรรมการ, จุดประสงค์ที่เด่นชัด, ที่อยู่ที่แน่นอน และมีหน่วยงานที่เป็นที่รู้จักรับรองว่า มีหน่วยงานของท่านอยู่จริง

10. นามสกุล .ac.th เป็นนามสกุลที่เหมาะกับเว็บไซต์สำหรับสถานศึกษา โรงเรียน วิทยาลัย การจดทะเบียนสามารถจดได้เพียง “ชื่อเต็มทั้งหมดของชื่อสถาบัน” หรือ “ชื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อสถาบัน” หรือ “ตัวย่อที่มาจากชื่อสถาบัน” เท่านั้น โดยต้องไม่ซ้ำกับชื่อโดเมนของสถาบันอื่นที่ได้มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้แล้ว เอกสารประกอบการ จดโดเมน .ac.th
– 10.1 สำเนาหนังสือจัดตั้งโรงเรียน
– 10.2 กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งโรงเรียนได้นั้น รบกวนทางโรงเรียนออกหนังสือรับรอง หน่วยงานที่สังกัด ที่ตั้งของโรงเรียน และรับรองการขอจดทะเบียนโดเมนเนม พร้อมทั้งประทับตราและเซ็นต์รับรองโดย ท่านผู้อำนวยการของทางโรงเรียน

11. นามสกุล .go.th เป็นนามสกุลที่เหมาะกับเว็บไซต์สำหรับองค์กรภาครัฐ เช่น กรม กอง อบต. อบจ. การจดทะเบียนสามารถจดได้เพียง “ชื่อเต็มทั้งหมดของชื่อองค์กร” หรือ “ชื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อองค์กร” หรือ “ตัวย่อที่มาจากชื่อองค์กร” เท่านั้น โดยต้องไม่ซ้ำกับชื่อโดเมนขององค์กรอื่นที่ได้มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้แล้ว เอกสารประกอบการ จดโดเมน .go.th
– 11.1 หนังสือที่ทางหน่วยงานแจ้งชื่อโดเมนเนม .go.th ให้ทาง ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer : CIO) ของกระทรวง/กรมต้นสังกัด รับทราบ

ที่นี่ก็ทราบความหมายของแต่ละ ดอท กันแล้ว ก็จดโดเมนได้ถูกต้องตามประเภทกันได้ซะที่ ^^

Comments are closed.