Screenshot ด้วย Media Player Classic

June 19th, 2009

พอดีกำลังหาวิธีทำ Screenshot ครับ ที่จริงเคยทำมาเหมือนกันแต่นานมากแระ เลยลืมจำได้แค่ว่าใช้ Media Player Classic ทำ ก็เลยหาข้อมูลมาเก็บไว้ คราวหน้าจะได้ไม่ต้องไปหาที่ไหนไป ^^

ในทั้ง K-Lite Codec Pack หรือ K-Lite Mega Codec Pack (โปรแกรมที่ช่วยให้เราดูไฟล์วิดีโอได้เกือบทุก format)
และโปรแกรมที่เราใช้เปิดไฟล์ก็คือ Media Player Classic ซึ่งความสามารถพิเศษที่ซ่อนเร้นอยู่ของเจ้า Media Player Classic ก็คือการทำ Screenshot (SS) นั่นเอง หลายคนอาจจะยังไม่รู้ มาดูกันดีกว่าว่ามันทำยังไง

Download
K-Lite Codec Pack
K-Lite Mega Codec Pack

ก่อนอื่นก็เปิดโปรแกรม Media Player Classic ขึ้นมา เลือก Views > Options…

ตั้งค่าต่างๆตามนี้ครับ

ต่อไปก็เปิดไฟล์วิดีโอที่จะทำ Screenshot (SS) แล้วตั้งค่ารูปที่ต้องการครับ

เสร็จแล้วก็จะได้ไฟล์รูปประมาณนี้ครับ

ที่มา : gler.net

เรื่องเล่าจากในวัง

June 19th, 2009

ผมมีเรื่องที่จะเล่าให้ฟังอยู่เหตุการณ์หนึ่งซึ่งเป็นเรื่องจริงเหตุการณ์เกิดทีจังหวัดตาก
เมื่อพระเทพทรงเสด็จไปเยี่ยมราษฏรตามที่ต่างๆ
และได้ทรงเสด็จไปเยี่ยมประชาชนในตลาดสด
และถามความเป็นอยู่กับบรรดาแม่ค้าในตลาด แต่ก็มาถึงแม่ค้าปลา
ซึ่งพระองค์ทรงตรัสถามว่า ‘ปลาพวกนี้ขายอย่างไงจ๊ะ’
แม่ค้าตอบว่า ‘ที่สวรรคตแล้ว กิโลละ 40 บาท
และที่เสด็จไปเสด็จมากิโลละ 80 บาทจ๊ะ’
เหตุการณ์นี้ ทำให้ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จหัวเราะกันทุกคน

—————————————
เช้าวันหนึ่ง เวลาประมาณ 7 โมงเช้า
นางสนองพระโอษฐ์ของฟ้าหญิงองค์เล็ก ได้รับโทรศัพท์เป็นเสียงผู้ชาย ขอพูดสายกับฟ้าหญิง
ทางนางสนองพระโอษฐ์ ก็สอบถามว่าใครจะพูดสายด้วย
ก็มีเสียงตอบกลับมาว่า คนที่แบงค์
นางสนองพระโอฐก็ งง…งง ว่าคนที่แบงค์ทำไมโทรมาแต่เช้า แบงค์ก็ยังไม่เปิดนี่หว่า
แต่พอฟ้าหญิงรับโทรศัพท์แล้วถึงได้รู้ว่า คนที่แบงค์น่ะ
ก็ที่แบงค์จริงๆนะ ไม่เชื่อเปิดกระเป๋าตังค์
แล้วหยิบแบงค์มาดูสิ ………… ขนลุกเลย ทรงตรัสกับในหลวงท่านอยู่นั่นเอง

————————————
อีกครั้งหนึ่งที่ภาคอีสาน
เมื่อเสด็จขึ้นไปทรงเยี่ยมบนบ้านของราษฎรผู้หนึ่ง
ที่คณะผู้ตามเสด็จทั้งหลายออกแปลกใจในการกราบบังคมทูล
ที่คล่องแคล่วและใช้ราชาศัพท์ได้อย่างน่าฉงน
เมื่อในหลวงมีพระราชปฏิสันถารถึงการใช้ราชาศัพท์ได้ดีนี้ จึงมีคำกราบทูลว่า
‘ข้าพระพุทธเจ้าเป็นโต้โผลิเกเก่าบัดนี้มีอายุมากจึงเลิกรามาทำนาทำสวนพระพุทธเจ้า..’
มาถึงตอนสำคัญที่ทรงพบนกในกรงที่เลี้ยงไว้ที่ชานเรือน
ก็ทรงตรัสถามว่า เป็นนกอะไรและมีกี่ตัว..
พ่อลิเกเก่ากราบบังคมทูลว่า
มีทั้งหมดสามตัว พระมเหสีมันบินหนีไป
ทิ้งพระโอรสไว้สองตัว ตัวหนึ่งที่ยังเล็ก ตรัสอ้อแอ้อยู่เลย
และทิ้งให้พระบิดาเลี้ยงดูแต่ผู้เดียว’
เรื่องนี้ ดร.สุเมธเล่าว่าเป็นที่ต้องสะกดกลั้นหัวเราะกันทั้งคณะไม่ยกเว้นแม้ในหลวง

————————————-
เมื่อครั้งท่านพระชนม์มายุ 72 พรรษา มีการผลิตเหรียญที่ระลึกออกมาหลายรุ่น
เจ้าของกิจการนาฬิกายี่ห้อหนึ่งได้ยื่นเรื่องขออนุญาตนำพระบรมฉายาลักษณ์ของท่านมาประดับที่หน้าปัดนาฬิกาเป็นรุ่นพิเศษ
ท่านทราบเรื่องแล้วตรัสกับเจ้าหน้าที่ว่า ‘ไปบอกเค้านะเราไม่ใช่มิกกี้เมาส์’

————————————–
เรื่องการใช้ราชาศัพท์กับในหลวง ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ใครต่อใครเกร็งกันทั้งแผ่นดิน และไม่เว้นแม้กระทั่งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
ที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายรายงาน
ครั้งหนึ่งเมื่อหลายปีก่อนมีข้าราชการระดับสูงผู้หนึ่งกราบบังคมทูลรายงาน
ว่า ‘ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้าพลตรีภูมิพลอดุลยเดช ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต กราบบังคมทูลรายงาน ฯลฯ’
เมื่อสิ้นคำกราบบังคมทูลชื่อในหลวงทรงแย้มพระสรวล อย่างมีพระอารมณ์ดีและไม่ถือสาว่า
‘เออ ดี เราชื่อเดียวกัน…’
ข่าวว่าวันนั้นผู้เข้าเฝ้าต้องซ่อนหัวเราะขำขันกันทั้งศาลาดุสิดาลัย
เพราะผู้รายงานตื่นเต้นจนจำชื่อตนเองไม่ได้

———————————–
มีอยู่ครั้งหนึ่งทรงเสด็จไปพระราชทานปริญญาบัตรให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในระหว่างที่ทรงเปลี่ยนในครุย
ทรงโปรดสูบมวนพระโอสถ แต่ว่าทรงหาที่จุดไม่ได้ ทางอธิการบดีซึ่งเฝ้าอยู่ก็จุดไฟให้พร้อมทูลว่า ‘ถวายพระเพลิงพระเจ้าข้า’
ในหลวงทรงชะงัก ก่อนจะแย้มสรวลน้อยๆ กับอธิการบดีว่า
‘เรายังไม่ตายถวายพระเพลิงไม่ได้หรอก’

————————————
เคยมีเรื่องเล่าให้ฟังว่า ในหลวงเสด็จไปในถิ่นทุรกันดารเพื่อเยี่ยมเยียนราษฎร
อยู่ครั้งหนึ่งพระองค์ท่านทรงแจกพระเครื่องให้กับราษฎรจนหมดแล้ว
แต่ราษฎรผู้หนึ่งกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานพระเครื่องว่า
‘ขอเดชะ ขอพระหนึ่งองค์’
ในหลวงทรงตรัสว่า ‘ขอเดชะ พระหมดแล้ว ‘

————————————
วันหนึ่งพระองค์ท่านเสด็จเยี่ยมเยียนพสกนิกรของท่านตามปกติที่ต่างจังหวัด
ก็มีชาวบ้านมาต้อนรับในหลวงมากมาย
พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาตามลาดพระบาท
ที่แถวหน้าก็มีหญิงชราแก่คนหนึ่งได้ก้มลงกราบแทบพระบาท
แล้วก็เอามือของแกมาจับพระหัตถ์ของในหลวง แล้วก็พูดว่า
‘ยายดีใจเหลือเกินที่ได้เจอในหลวง’
แล้วก็พูดว่า ยายอย่างโน้น ยายอย่างนี้ อีกตั้งมากมาย
แต่ในหลวงก็ทรงเฉยๆ มิได้ตรัสรับสั่งตอบว่ากระไร
แต่พวกข้าราชบริพารก็มองหน้ากันใหญ่ กลัวว่าพระองค์จะทรงพอพระราชหฤหัย หรือไม่
แต่พอพวกเราได้ยินพระองค์รับสั่งตอบว่ากับหญิงชราคนนั้น
ทำให้เราถึงกับกลั้นหัวเราะไว้ไม่ไหว เพราะพระองค์ทรงตรัสว่า
‘เรียกว่ายายได้อย่างไร อายุอ่อนกว่าแม่ฉันตั้งเยอะ
ต้องเรียกน้าซิถึงจะถูก’

——————-
ครั้งหนึ่งหลายๆ ปีมาแล้ว
พระเจ้าอยู่หัวทรงประชวรนิดหน่อยเกี่ยวกับพระฉวีมีพระอาการคัน
มีหมอโรคผิวหนังคณะหนึ่งไปเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายการรักษา

คุณหมอเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโรคผิวหนังแต่ไม่ได้เชี่ยวชาญทางราชาศัพท์
ก็กราบบังคมทูลว่า ‘เอ้อ – ทรง… อ้า-ทรงพระคันมานานแล้วหรือยังพะยะค่ะ
อ้า-ทรงพระคันมานานแล้วหรือยังพะยะค่ะ’
พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระสรวล ตรัสว่า ‘ฉันไม่ใช่ผู้หญิงนี่จะท้องได้ยังไง’
แล้วคงจะทรงพระกรุณาว่า หมอคงจะไม่รู้ราชาศัพท์ทางด้านอวัยวะร่างกายจริงๆ
ก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตว่า เอ้า พูดภาษาอังกฤษกันเถอะ
เป็นอันว่าก็กราบบังคมทูลซักพระอาการกันเป็นภาษาอังกฤษไป

——————————
เรื่องนี้รุ่นพี่ที่จุฬาฯเล่าให้ฟังว่า
มีอยู่ปีนึงที่ในหลวงทรงเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร
อธิการบดีอ่านรายชื่อบัณฑิตแล้วบังเอิญว่า มีเหตุขัดข้องบางประการ
ทำให้อ่านขาดตอน ก็ต้องรีบหาว่าอ่านรายชื่อไปถึงไหนแล้ว
ปรากฏว่าในหลวงท่านทรงจำได้ ท่านเลยตรัสกับอธิการไปว่า
‘เมื่อกี้นี้ (ชื่อ….) เค้ารับไปแล้ว’
และมีอีกปีนึงขณะที่พระราชทานปริญญาบัตรอยู่ดีๆ ไฟดับไปชั่วขณะ…
ทำให้บัณฑิตคนหนึ่งพลาดโอกาสครั้งสำคัญในการถ่ายรูป
พอในหลวงทรงพระราชทานปริญญาบัตรเรียบร้อยแล้ว
ก่อนที่จะให้พระบรมราโชวาท
ท่านทรงให้อธิการบดีเรียกบัณฑิตคนนั้นมารับพระราชทานอีกครั้ง
เพื่อจะได้มีรูปไว้เป็นที่ระลึก ตื้นตันกันถ้วนทั่วทั้งหอประชุม
ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

CD-R,DVD-R อย่าเก็บอะไรไว้นานเกินไปนะจ๊ะ

June 19th, 2009

อย่าเก็บข้อมูลใน CD-R นานเกินไป
ข่าวนี้มาจากนิตยสาร PC World, เขารายงานผลวิจัยพบว่า ผู้คนจำนวนมาก เลือกเก็บข้อมูลภาพ เพลงประทับใจ และข้อมูลสำคัญๆ ไว้ในแผ่นซีดีอาร์ โดยหวังว่าจะเก็บไว้เป็นสิบๆ ปี คำตอบก็คือ เป็นเรื่องที่อันตรายมาก เมื่อแผ่นซีดีอาร์ส่วนใหญ่ มีอายุการใช้งานได้แค่ 2-5 ปี ตามแต่คุณภาพของแผ่น เพราะแผ่นซีดีอาร์ เก็บข้อมูลได้โดยระบบความร้อนของหัวเลเซอร์เครื่องเขียนแผ่น ซึ่งเมื่อผ่านไประยะหนึ่ง วัสดุและสารเคมี ณ จุดที่มีการเขียนอ่านข้อมูลนั้น ก็อาจจะมีการเปลี่ยนสภาพไป
กรณีที่เขียนข้อมูลแล้วเก็บแผ่นซีดีอาร์ไว้เฉยๆ ณ ห้องติดแอร์ ไม่ร้อน ไม่ชื้นจัด แผ่นเหล่านี้อาจจะเก็บได้นานถึง 10 ปี แต่ถ้าเก็บไว้ที่ห้องที่ร้อนอบอ้าว หรือไว้ในรถที่ตากกลางแดด นอกจากแผ่นจะเสียรูปร่างแล้ว ข้อมูลก็จะหายไปด้วยเช่นกัน
ถ้างั้น..หันไปใช้เทปเก็บข้อมูล หรือฮาร์ดดิสก์ดีไหม ? คำตอบก็คือ เทปเป็นตัวเก็บข้อมูลที่ให้อายุการใช้งานสูงสุด คือประมาณ 30 ปีขึ้นไป แต่..เทป ไวต่อความร้อน สนามแม่เหล็กไฟฟ้ามากๆ ที่สำคัญ เวลาเก็บไว้นานๆ ต้องมีการ retension หรือมีการวิ่งเทปให้ยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อปรับความตึงของเส้นเทปให้เหมาะสม ดังนั้น เทปที่เก็บไว้ที่ห้องธรรมดา ไม่ใช่ห้องแอร์ ก็อาจจะเก็บข้อมูลได้เพียง 5-10 ปีเช่นกัน และยิ่งเก็บไว้ที่ร้อนจัด หรือบริเวณที่มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตลอดเวลา เช่น ข้างเครื่องทีวี ปั๊มน้ำ มอเตอร์ ฯลฯ ข้อมูลที่หวงแหนไว้ ก็อาจจะมลายหายไปง่ายๆ เหมือนกัน ดังนั้น บรรดาเทป mini DV ที่ถ่ายรูปแต่งงานหรืองานบวช ก็ต้องเก็บไว้ในที่เย็น ไม่ชื้น และไม่มีสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน มิฉะนั้น..ก็หาย
เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ โดยเฉพาะ external harddisk ดีไหม คำตอบก็คือ ก็ไม่ดีเหมือนกัน เพราะวิธีการเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ ก็ใช้การเหนี่ยวนำไฟฟ้าบนจานฮาร์ดดิสก์ พอนานไป ความเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าก็จะเสื่อมหายได้เหมือนกัน ดังนั้น เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ อาจจะเก็บได้นาน 8-10 น้อยกว่าเทปเสียอีก และที่สำคัญ อาจจะพลัดตก แล้วหัวอ่านเสียอีกก็ได้
ดังนั้น เก็บข้อมูลไว้ที่ไหนดี ? คำตอบที่ดีที่สุดในตอนนี้ก็คือ Flash Memory ครับ*** ด้วยความสามารถในการอ่านเขียนที่ได้มากถึง 100 ล้านครั้ง ถ้ามีการอ่านเขียนวันละ 100 ครั้ง ก็จะมีอายุการใช้งานมากถึง “หลายพันปี” และถ้าชั่วโมงๆ หนึ่งมีการอ่านเขียนมากถึง 1,000 ครั้ง ก็จะมีอายุการใช้งานนานกว่า 10 ปี
และด้วยคุณสมบัติที่หน่วยความจำ แบบนี้ ไม่มีชิ้นส่วนเครื่องกลเหมือนฮาร์ดดิสก์และเทป ทำให้โอกาสที่จะผิดพลาดเนื่องจากกลไกต่างๆ น้อยลงไปอีก ยิ่งไปกว่านั้น ความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าไว้กับตัวของมัน ก็ดีกว่าเทป ฮาร์ดดิสก์ และซีดีอาร์
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าคุณจะใช้หน่วยความจำแบบไหนเก็บข้อมูล ก็ขอให้เก็บรักษาไว้ในที่ๆ อุณหภูมิไม่สูง ไม่มีคลื่นไฟฟ้ารบกวน และที่สำคัญ ต้องหมั่นนำกลับมาใช้ ปีละครั้งก็ยังดี เพื่อชาร์จประจุ ขยับหัวอ่านและกลไกต่างๆ รวมทั้ง เพื่อสำรวจว่า หน่วยความจำของคุณ “ยังจำ” ข้อมูลของคุณอยู่หรือเปล่า