การทำตัวอังกฤษเคลื่อนที่และหยุด

July 24th, 2009

การทำตัวอังกฤษเคลื่อนที่และหยุดโดย tag marquee โดยใช้ stop(); และ start();

รูปแบบการใช้งานทั่วไปคือ

<marque onmouseover=stop(); onmouseout=start();>ข้อความ</marque>

scrolldelay ให้แทนค่าด้วยความเร็วเป็น Int ส่วน
direction ใส่ได้เฉพาะ Up,Down,Left และ Right นะครับ

เรามาลองกัน สร้างไฟล์ marque.html เพื่อทดลอง

<html >
<head>
<meta http-equiv=”Content-Type” content=”text/html; charset=windows-874″ />
<title>การทำตัวอังกฤษเคลื่อนที่และหยุดโดย tag marque โดย stop(); และ start();</title>
</head>
<body>
<marquee onmouseover=stop(); onmouseout=start();>WEBTHAIDD.COM</marquee>
</body>
</html>

มาทดลองทำกันดูนะครับ

ความเป็นของ HTML

July 24th, 2009

หลายๆคนอาจจะ รู้จัก HTML แต่อาจจะไม่รู้ความหมาย อิอิ มาเริ่มกันเลยครับ

HTML คืออะไร?
เอาล่ะครับ ต่อไปนี้เราจะมารู้จักภาษา HTML กันว่ามันคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร ใครเป็นคนกำหนดมาตราฐานนี้ และมีประโยชน์อย่างไร
HTML ย่อมาจากอะไร?
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงอย่างจะทราบว่าหมายกันแล้วนะครับ ว่าไอ้เจ้า HTML ที่เราพูดถึงกันอยู่เนี่ย มันย่อมาจากอะไรกันน้า…. HTML ย่อมาจาก HyperText Makeup Language ครับ ถ้าจะให้แปลตรง ๆ ตัวก็ ภาษาที่ใช้สำหรับการสร้างเอกสารแบบ HyperText ไงล่ะครับ
HTML มาจากที่ไหน และใครเป็นคนสร้างมันขึ้นมา?
ภาษา HTML ถือกำเนิดขึ้นมาจากความพยายามที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข ่าวสารต่าง ๆ ในโลกของ Internet นี่แหล่ะครับ ซึ่งก็เป็น ที่ทราบกันอยู่แล้วนะครับว่า ในโลกของ Internet นั้นมันกว้างใหญ่ไพศาลนัก เราไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่า ใครใช้ระบบปฏิบัติการอะไรกันบ้าง บางคนอาจจะใช้ระบบปฏิบัติการ Windows บนเครื่อง PC ธรรมดา ๆ อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลาย แต่นักวิจัยบางคนอาจจะให้ระบบปฏิบัติการ Unix บนเครื่อง Mainframe ในการเชื่อมต่อเข้าสู่ Internet ก็ได้ ซึ่งจากความ แตกต่างกันทั้งทางต้าน Software และ Hardware นี่เอง ที่เป็นจุดกำเนิด ของ HTML ซึ่งเป็นมาตราฐานที่ทำให้สามารถทำให้ ผู้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการทั้งหลายแหล่ที่มีอยู่บนโลกข อง Internet สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างสะดวกและรว ดเร็ว สำหรับหน่วยงาเป็นคนกำหนดมาตราฐาน HTML คือ W3C นะครับ สำหรับ version ปัจจุบันนี้ก็เป็น version 4.0 เข้าไปแล้วครับ)
ประโยชน์ของ HTML
สำหรับประโยชน์ของ HTML นี่ก็มีประโยชน์มากมายนะครับ สำหรับประโยชนหลัก ๆ เลยก็คือ การที่มันช่วยให้เราสามารถ เผยแพร่เอกสารต่าง ๆ ของเราให้คนทั้งโลกได้อ่านอย่างไม่จำกัดในระบบของเคร ื่องหรือว่าระบบของ OS เลยครับ ไม่ว่าใครจะใช้ ระบบปฏิบัติการอะไรก็ตาม ที่มี broswer ที่สามารถอ่าน file format HTML ได้ล่ะก็ ก็จะสามารถเปิดไฟล์เอกสารที่เราต้องการ เผยแพร่อ่านได้ทันทีครับ ไม่เว้นแม้แต่ระบบปฏิบัติการ Unix ที่ run ใน Text Mode ก็สามารถอ่านได้ครับ (ใครที่เคยเล่น Linux คงเคยได้ใช้คำสั่ง Lynx นะครับ

ติดอันดับการสืบค้น

July 24th, 2009

ไปเจอวิธีการทำให้เราสามารถติดอันดับการสืบค้นมาครับ ผมก็เอามาใช้ด้วย และก็มาแบ่งปั่นกันครับ มาดูกันเลย

หากคุณต้องการทำให้เว็บของคุณ อยู่ในกลุ่มของการค้นหาข้อมูลจากผู้ให้บริการสืบค้นข ้อมูลอัตโนมัติ (Search Engine) อย่าลืมกำหนด Title ของเอกสารเว็บนั้นๆ โดยควรเป็นข้อความภาษาอังกฤษ มีความหมายกระชับถึงเรื่องที่นำเสนอ แต่มีความยาวไม่เกิน 64 ตัวอักษร (ปัจจุบันสามารถใช้ภาษาไทยได้ แต่แนะนำให้ใช้ร่วมกัน หรือผสมกัน) ซึ่งข้อความในส่วนนี้จะปรากฏในส่วนบนสุดของหน้าต่างเ บราเซอร์ (Title Bar)

<HEAD>
<TITLE>abciloveu.com</TITLE>
</HEAD>

นอกจากนี้ สามารถกำหนดค่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสำคัญ หรือ Keyword ของเอกสารเว็บ เพื่อช่วยให้การสืบค้น ได้ผลดีขึ้น อาศัยแท็กคำสั่ง

<META NAME=”Keywords” CONTENT=”คำที่ 1, คำที่ 2, …”>

ซึ่งกำหนดแท็กนี้ในส่วน Head Section ของเอกสารเว็บ
ตัวอย่างการลงรหัสเพื่อกำหนด TITLE และ META Tag

<HEAD>
<TITLE>abciloveu.com</TITLE>
<META NAME=”Keywords” CONTENT=”Introduction, HTML, HyperText Markup Language”>
</HEAD>

ทั้งนี้ยังมีแท็ก Meta อีก 2 รูปแบบที่ควรนำมาประกอบด้วย คือ

<META NAME=”Description” CONTENT=”ข้อความอธิบายเว็บไซต์”>

และ

<META NAME=”Robots” CONTENT=”all/none/index/noindex/follow/nofollow”>

โดย Description จะเป็นการใส่คำอธิบายให้กับเว็บไซต์ และ Robots เป็นการบอกให้กับ Spider หรือ Robot (โปรแกรมของ Search Engine ที่ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลของเว็บไซต์ต่างๆ) ว่าควรจัดการหน้าเว็บต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร เช่น ถ้าต้องการให้เก็บข้อมูลทุกหน้า ก็กำหนด Contect=”All” หรือไม่ต้องการให้เก็บข้อมูลหน้าใด ก็กำหนด Contect=”noindex” หรือให้เก็บเฉพาะหน้าที่ระบุ ไม่ต้องเก็บหน้าอื่นๆ ก็ใช้ Contect=”NoFollow” เป็นต้น อย่างไรก็ตามแท็กชุดนี้ไม่ใช่แท็กมาตรฐาน ดังนั้นผู้พัฒนาเว็บ ควรให้ความสำคัญของ Title มากที่สุด

<HEAD>
<TITLE>abciloveu.com</TITLE>
<META NAME=”Keywords” CONTENT=”Introduction, HTML, HyperText Markup Language”>
<META NAME=”Description” CONTENT=”Introduction to HTML and Web Design for All”>
<META NAME=”Robots” CONTENT=”All”>
</HEAD>

นอกจากแท็กที่ได้แนะนำ ก็กำหนดข้อความอธิบายรูปภาพด้วย Attribute ALT ของแท็ก IMG ก็เป็นจุดที่น่าสนใจ โดย Spider บาง Search Engine จะสนใจคำอธิบายชุดนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม คำอธิบายชุดนี้ก็มีประโยชน์มาก สำหรับคนพิการทางสายตา เพราะสามารถรู้ความหมายของรูปภาพที่มองไม่เห็นได้จาก คำอธิบาย ที่อ่านด้วยเบราเซอร์ เฉพาะของคนพิการทางตา ดังนั้นผู้พัฒนา ควรให้ความสำคัญของการใส่คำอธิบายรูปภาพกับรูปภาพทุก ภาพด้วย

<IMG SRC=”test.jpg” ALT”ทดสอบการใส่คำอธิบาย”>

เป็นไงครับลองดูกันนะครับ ^^